หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ – ภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) เป็นหลักสูตรใหม่และประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ.2558 เป็นหลักสูตรการผลิตครูการศึกษาพิเศษ-ภาษาไทยมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ให้มีคุณภาพ มีศักดิ์ศรีความเป็นครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู โดยผลิตบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีความรู้ทางด้านการศึกษาพิเศษและภาษาไทย สามารถบูรณาการศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนและบุคคลทั่วไป สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างเหมาะสม มีทักษะ และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ปัจจุบันมีนักศึกษา 3 รุ่น จำนวน 89 คน
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ – ภาษาไทย (หลักสูตร 4 ปี) เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ปรับปรุงจากหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ – ภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 มีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ พ.ศ.2561 และข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2558 ในปีการศึกษา 2562 เป็นหลักสูตรมุ่งเน้นผลิตครูในมิติใหม่ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นบัณฑิตครูที่มีคุณภาพให้มีศักดิ์ศรีความเป็นครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีคนเก่งใฝ่รู้ เป็นครูดีครูเก่งมีความรู้และใฝ่รู้มีทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์วิชาชีพ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพมีคุณธรรมและเป็นผู้มีจริยธรรมประพฤติปฎิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ และสมรรถนะทางการศึกษาที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงมีความรอบรู้และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืนสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ ดังนั้นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จะเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษาเพื่อให้มีครูที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังกล่าวและเพื่อให้สนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูโดยเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานมีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทั้งทางด้านสังคมธุรกิจและศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันมีนักศึกษา 1 รุ่น จำนวน 31 คน
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 156 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
30 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
12 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
12 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน
120 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาชีพครู
40 หน่วยกิต
2.1.1 วิชาชีพครู
28 หน่วยกิต
2.1.2 วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
12 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเอก
80 หน่วยกิต
2.2.1 วิชาเอกภาษาไทย
40 หน่วยกิต
2.2.2 วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
40 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 หมวด 2 การรับเข้าศึกษา
กรณีที่มีหลักสูตรเทียบโอน ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
3. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2560
4. มีการสอบวัดแววความเป็นครูตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
5. มีการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ระดับชั้นปี | จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา | ||||
2559 | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | |
1 | 30 | 30 | 30 | 30 | - |
2 | - | 30 | 30 | 30 | 30 |
3 | - | - | 30 | 30 | 30 |
4 | - | - | - | 30 | 30 |
5 | - | - | - | - | 30 |
รวม | 30 | 60 | 90 | 120 | 150 |
จำนวนนักศึกษาคาดว่าสำเร็จการศึกษา | - | - | - | - | 30 |
ระดับชั้นปี | จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา | ||||
2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 | |
1 | 30 | 30 | 30 | 30 | 30 |
2 | - | 30 | 30 | 30 | 30 |
3 | - | - | 30 | 30 | 30 |
4 | - | - | - | 30 | 30 |
รวม | 30 | 60 | 90 | 120 | 120 |
จำนวนนักศึกษาคาดว่าสำเร็จการศึกษา | - | - | - | 30 | 30 |
1. โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กพิการเฉพาะประเภท เช่น โรงเรียนสอนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น เป็นต้น
2. โรงเรียนเรียนร่วม
3. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดต่าง ๆ
4. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
5. สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
6. คุรุสภา-สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
7. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
8. หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษาพิเศษ