ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมา

          หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนวเป็นหลักสูตรที่มีลักษณะบูรณาการเชิงประยุกต์ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่ทันสมัย เน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้หลักสูตรครอบคลุมตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ. 2564 และเป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2558 โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะความเป็นครูคุณภาพโดยมีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครูและมีความเป็นผู้นำ

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : -
ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Counseling Psychology and Guidance

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ครุศาสตรบัณฑิต(จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ค.บ. (จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Education Program in Counseling Psychology and Guidance
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Ed. (Counseling Psychology and Guidance)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์ ดร.มณีนุช รองพล

อีเมล : Maneenuch.ro@skru.ac.th

ประธานหลักสูตร

ผศ.ไหมไทย ไชยพันธุ์

อีเมล : maithai.ch@skru.ac.th

กรรมการหลักสูตร

อาจารย์จันทร์จิรา วงศ์ประไพโรจน์

อีเมล : janjira.wo@skru.ac.th

กรรมการหลักสูตร

อาจารย์เกรียงศักดิ์ รัฐกุล

อีเมล : kriangsak.ra@skru.ac.th

กรรมการหลักสูตร

แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 4 ปี     

ระดับชั้นปี จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา
2564 2565 2566 2567 2568
1 30 30 30 30 30
2 - 30 30 30 30
3 - - 30 30 30
4 - - - 30 30
รวม 30 60 90 120 120
จำนวนนักศึกษาคาดว่าสำเร็จการศึกษา - - - 30 30

 

ข้อมูลนักศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองในทุกสาขาและมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาโดยมีการสอบวัดความรู้พื้นฐาน/การประเมินความรู้ และสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินคุณลักษณะความเป็นครูอย่างเป็นระบบ มีค่านิยมเจตคติที่ดีและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู
2. มีการสอบวัดแววความเป็นครูตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดและจัดให้มีแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต
3. มีการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4. มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียนหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู