ประวัติความเป็นมา

          หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2561 เป็นหลักสูตรที่ได้ปรับปรุงมาจากหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน พุทธศักราช 2555 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2561 ขณะนี้อยู่ในระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตร และอยู่ในระหว่างสภาให้ความเห็นชอบหลักสูตรที่ได้ใบประกอบวิชาชีพครู หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตมหาบัณฑิต ที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยเน้นให้เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทักษะ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสามารถในการทำการวิจัยเพื่อ สร้างองค์ความรู้และแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยการเชื่อมโยงศาสตร์ที่เป็นสากลกับภูมิปัญญาไทย และใช้กระบวนการคิดขั้นสูงในการออกแบบการพัฒนาและแก้ปัญหาบนพื้นฐานของความความต้องการและสภาพบริบทของหน่วยงาน ตลอดจนหลักสูตรนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา ภายใต้ปรัชญาของหลักสูตร “มุ่งผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สามารถทำการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาทางด้านหลักสูตรและการสอน ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคมและประเทศชาติ มีทักษะการคิดขั้นสูง เป็นผู้นำในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ” ปัจจุบันหลักสูตรฯ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 3 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 โดยหลักสูตรฯ ได้กำหนดจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education: TQF) ครอบคลุมผลการเรียน จำนวน 6 ด้าน คือ
          1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม
          2) ด้านความรู้
          3) ด้านทักษะทางปัญญา
          4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          6) ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ดังนี้
                1.3.1 มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม
                1.3.2 สามารถสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนและการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาในการปฏิบัติทางวิชาชีพ
                1.3.3 มีทักษะในการออกแบบและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมพหุวัฒนธรรม
                1.3.4 มีทักษะการคิดและใช้ทักษะการคิดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาการศึกษาไทยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21
                1.3.5 เป็นบุคคลหลักในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของหน่วยงาน โดยการทำงานการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                1.3.6 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร : 25491641111166
ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ภาษาอังกฤษ : Master of Education (Curriculum and Instruction)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Education (Curriculum and Instruction)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Ed. (Curriculum and Instruction)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

แผนการเรียน

แผน ก (แบบ ก1 และก2) สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใบประกอบวิชาชีพเรียนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และแผน ข สำหรับผู้ที่ต้องการใบประกอบวิชาชีพ เรียนไม่น้อยกว่า 50 หน่วยกิต

ข้อมูลนักศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. คุณสมบัติทั่วไปของผู้เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก1 ก2 และแผน ข

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ
2) มีหนังสือรับรองจากแพทย์ปริญญาว่าไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3) มีคะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษที่มีผลการสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบ มีผลดังนี้

TOEFL (paper based)

ไม่ต่ำกว่า 470 คะแนน

TOEFL (computer based)

ไม่ต่ำกว่า 150 คะแนน

TOEFL (internet based)

ไม่ต่ำกว่า 52 คะแนน

IELTS (Academic Module)

ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน

TU-GET (1,000 คะแนน)

ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน

CU-TEP (120 คะแนน)

ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน

          หรือเกณฑ์คะแนนการทดสอบอื่นในสถาบันการศึกษาที่ได้รับการยอมรับซึ่งมีการเทียบเกณฑ์ดังกล่าวกับระดับความสามารถของ CEFR อยู่ในระดับ B2 ขึ้นไป (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) โดยต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
          กรณีผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีผลการสอบข้างต้น ต้องเรียนรายวิชา 1557301 (ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาบัณฑิต) และสอบผ่านรายวิชาดังกล่าวก่อนสำเร็จการศึกษา

4) มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ว่าด้วยการบริหารและการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561

2. คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษา

1) คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก1

         มีประสบการณ์ปฏิบัติงานทางด้านการศึกษาและมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและการพัฒนาการเรียนการสอนในหน่วยงานอย่างน้อย 2 ปี และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมาก่อนอย่างน้อย 1 เรื่อง ทั้งนี้ ต้องแนบเอกสารแสดงความคิดรวบยอมเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ (Concept paper) แสดงต่อ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรในวันสมัครเข้าศึกษา

2) คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก2

          มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการสอนหรือปฏิบัติงานทางด้านการศึกษาอย่างน้อย 1 ปี หลังจากสำเร็จการศึกษา

3) คุณสมบัติเฉพาะของผู้เข้าศึกษาในแผน ข

          มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีใบอนุญาตการสอนที่ออกให้โดยคุรุสภา และยังปฏิบัติการสอนอยู่ในสถานศึกษาโดยมีสัญญาจ้างให้ปฏิบัติงานในฐานะครูผู้สอน

3. ผู้มีคุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ข้อ 2.2.2 อาจได้รับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดมีความต้องการ/จำเป็นในการพัฒนาบุคลากรในสังกัดและ/หรือได้ทำความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี ภาคปกติ (แผน ก)

ระดับชั้นปี จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา
2561 2562 2563 2564 2565
แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2 แผน ก2
1 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5
2 - - 5 5 5 5 5 5 5 5
รวม 5 5 10 10 10 10 10 10 10 10
จำนวนนักศึกษาคาดว่าสำเร็จการศึกษา - - 5 5 5 5 5 5 5 5

แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี ภาคพิเศษ (แผน ข)

ระดับชั้นปี จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา
2562 2563 2564 2565
1 30 30 30 30
2 - 30 30 30
รวม 30 60 60 60
จำนวนนักศึกษาคาดว่าสำเร็จการศึกษา 30 30 30

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

      1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
      2. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
      3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา