ความเป็นมา (หลักสูตร 5 ปี)
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) ประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ.2547 ชื่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) หลักสูตรนี้ปรับเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงทางสังคม หลังจากผลิตบัณฑิตจำนวน 2 รุ่น ได้ พัฒนาหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตร 5 ปี ชื่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย พุทธศักราช 2549 เพื่อพัฒนาบัณฑิตวิชาชีพครูให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ต่อมาเมื่อถึงวาระครบรอบการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร จึงได้ปรับปรุงเป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2554 ในปีการศึกษา 2558 เมื่อถึงวาระครบรอบการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรครุศาสตร์ -ศึกษาศาสตร์ (มคอ.1) โดยให้เพิ่มเติมกลุ่มวิชาการสอนวิชาเอก จึงได้ปรับปรุงเป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี) เปิดสอนในปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2561 ได้ พัฒนาเป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 4 ปี) ซึ่งเป็นหลักสูตรอิงสมรรถนะ รายวิชาในทุกกลุ่มวิชาเป็นรายวิชาที่อาจารย์ต้องจัดการเรียนรู้ ให้นักศึกษามี สมรรถนะตามที่ หลักสูตรกำหนด นอกจากนี้ หลักสูตรกำหนดให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู ตั้งแต่ชั้นปี 1-4 ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะใช้จัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2562
ความเป็นมา (หลักสูตร 4 ปี)
ปีพุทธศักราช 2562 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลอย่างสมบูรณ์ สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ผลิตครู จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่โมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยมีความั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนภายใต้บริบทของการปฏิวัติอุตสาหกรรม สิ่งที่จะต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ภาวะการแข่งขัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตลอดจนการแสวงหาพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาของนักเรียนไทย คือ ขาดความเข้มแข็งในด้านความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงานด้านการใช้ภาษาและการคิดขั้นสูง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560: 48)
ในการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะกับการพัฒนานวัตกรที่สอดรับกับการศึกษายุค 4.0 และศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะยืดหยุ่นและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น หลักสูตรแบบโมดูลที่ออกแบบเป็นหน่วยการเรียนที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จในตนเองและเน้นสมรรถนะของผู้เรียนเป็นสำคัญ (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2554) บูรณาการข้ามสาขาวิชา เน้นแก่นความรู้ที่สำคัญ แนวคิดหลัก เน้นการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงและทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ (สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์และคณะ, 2556; Wangner, 2012) รวมถึงพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับยุค 4.0 เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น หลักสูตรเน้นสมรรถนะจึงเหมาะกับการศึกษายุค 4.0
ความต่อเนื่องของแนวทางในการพัฒนาประเทศชาติมีความสอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11-12 ให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่ยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) อยู่ในช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งทางด้านการศึกษา ทักษะด้านภาษา ทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงการพัฒนากลไกต่างๆ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) ซึ่งจุดเน้นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนามนุษย์โดยตรง ดังที่ แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560 – 2579) มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและ การพัฒนาประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2560: ก)
ด้วยเหตุนี้จึงควรผลิตครูผู้สอนภาษาไทยที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย รวมทั้งผลิตครูที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่นมีทัศนคติและดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุข
มุ่งมั่นผลิตและพัฒนาครูภาษาไทยที่มีความรู้ สติปัญญามีจริยธรรมแห่งวิชาชีพมีทักษะชีวิต รู้เท่าทันเทคโนโลยีและสามารถบูรณาการความรู้สู่การจัดการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ชุมชน
ประธานหลักสูตร
กรรมการหลักสูตร
อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ สังข์เกื้อ
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ว่าที่ร้อยตรีหญิง สร้อยสุดา ไชยเหล็ก
กรรมการหลักสูตร
กรรมการและเลขานุการหลักสูตร
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองในทุกสาขาและมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาโดยมีการสอบวัดความรู้พื้นฐาน/การประเมินความรู้ และสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินคุณลักษณะความเป็นครูอย่างเป็นระบบ
2. มีการสอบวัดแววความเป็นครูตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
3. มีการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4. มีคุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 หมวด 1 การรับเข้าศึกษา
กรณีที่มีหลักสูตรเทียบโอน ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
3. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2560
ระดับชั้นปี | จำนวนนักศึกษาแต่ละปีการศึกษา | ||||
2567 | 2568 | 2569 | 2570 | 2571 | |
1 | 30 | 30 | 30 | 30 | 30 |
2 | - | 30 | 30 | 30 | 30 |
3 | - | - | 30 | 30 | 30 |
4 | - | - | - | 30 | 30 |
รวม | 30 | 60 | 90 | 120 | 120 |
จำนวนนักศึกษาคาดว่าสำเร็จการศึกษา | - | - | - | 30 | 30 |
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
24 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มสาระที่ 1 การคิดและการแก้ปัญหาไม่น้อยกว่า
6 หน่วยกิต
บังคับเรียน
3 หน่วยกิต
เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มสาระที่ 2 การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่น้อยกว่า
6 หน่วยกิต
บังคับเรียน
3 หน่วยกิต
เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มสาระที่ 3 การสื่อสารระหว่างบุคคล ไม่น้อยกว่า
6 หน่วยกิต
บังคับเรียน
3 หน่วยกิต
เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มสาระที่ 4 การใช้เทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
1.5 กลุ่มสาระที่ 5 การเป็นผู้ประกอบการและการบริหารเงิน ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า
3 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน
ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต
2.1 วิชาชีพครู
42 หน่วยกิต
2.1.1 กลุ่มวิชาชีพครู
27 หน่วยกิต
2.1.2 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
15 หน่วยกิต
- วิชาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
3 หน่วยกิต
- วิชาการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
12 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเอก
ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
2.2.1 กลุ่มวิชาเอกบังคับ
39 หน่วยกิต
2.2.2 กลุ่มวิชาเอกเลือก
ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
โรงเรียนหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู